Tag: ดีลอยท์

ดีลอยท์ชี้ โปรแกรมการแจ้งเบาะแสขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกขยายตัว สะท้อนถึงความก้าวหน้าในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใสและมีจริยธรรม

รายงาน Conduct Watch Survey report ล่าสุดของดีลอยท์ พบว่าองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการดำเนินโครงการแจ้งเบาะแส (Whistleblowing) มากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการยอมรับความสำคัญของการแจ้งเบาะแส เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางจริยธรรม โดยส่งเสริมความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ โดยร้อยละ 91 ขององค์กรที่ร่วมตอบแบบสอบถามได้มีการกำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแส เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 87 ในปี 2566 ผู้ตอบแบบสอบถามยังมีความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการแจ้งเบาะแสเพิ่มมากขึ้น โดยองค์กรร้อยละ 66 ระบุว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เทียบกับร้อยละ 58 ในปี 2566 รายงาน…

ดีลอยท์เผย บริษัทข้ามชาติขนาดเล็กในเอเชียแปซิฟิกมองการค้าดิจิทัลทางบวก และเทคโนโลยีและการสร้างแบรนด์เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ

ดีลอยท์ (Deloitte) เผยผลรายงานการสำรวจล่าสุด พบบริษัทข้ามชาติขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเร่งปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้น และเพิ่มการลงทุนในด้านการสร้างแบรนด์ ขณะที่มองอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และการค้าดิจิทัลทางบวก  รายงาน “Going-Global: Seizing the Next Great Opportunity in Digital Trade” ที่ดีลอยท์ร่วมทำกับเวิลด์เฟิร์ส (WorldFirst) เผยว่าเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกหลัก ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน อย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และนโยบายปกป้องทางการค้าที่เพิ่มขึ้น การนำเข้าและส่งออกสินค้าของเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของกิจกรรมการค้าโลก มีมูลค่าเกือบ 18…

ดีลอยท์ประกาศผู้ชนะรางวัล “Thailand’s Best Managed Companies” ประจำปี 2567

ดีลอยท์ ประกาศชื่อบริษัทที่ได้รับรางวัล Thailand’s Best Managed Companies  ประจำปี 2567  รางวัลนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4  โดยในปี 2567 มีบริษัทที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 19 บริษัท  ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนชั้นนำของไทยที่ประสบความสำเร็จในด้านการบริหารจัดการ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวงการอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจของประเทศ  ในปีนี้ มีบริษัท 4 แห่ง ที่ได้สถานะโกลด์สแตนดาร์ด (Gold Standard) เป็นครั้งแรก จากการได้รับรางวัล Thailand’s Best Managed Companies…

ดีลอยท์ เผยผลสำรวจองค์กรหลังทำ PDPA ปี 2567 พบประโยชน์ที่มากกว่าแค่การปฏิบัติตามกฎหมาย

ดีลอยท์ ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจและเผยแพร่ รายงานผลการสำรวจการทำ PDPA ในระดับองค์กร ด้านความพร้อมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรในประเทศไทย ในเดือนตุลาคม 2564  และได้ทำสำรวจอีกครั้งในปี 2567 สองปีหลังจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2565  เพื่อประเมินการปรับตัวของบริษัทต่างๆ ต่อการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวิเคราะห์ความท้าทายที่องค์กรเผชิญ และศึกษากระบวนการภายในองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป ด้านประโยชน์ และ ความตระหนักในเชิงธุรกิจ ผลจากการสำรวจพบว่า สองปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนให้องค์ปฏิบัติตามพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือโอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81 จากผลการสำรวจครั้งก่อนที่ร้อยละ 66…

รายงานใหม่จากดีลอยท์ชี้ชัด บริษัทในเอเชียแปซิฟิก ต้องเร่งพิจารณาปรับทิศทางการลงทุน

รายงานใหม่จากดีลอยท์ “Rebalancing your portfolio to fuel growth” ชี้ชัด บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จำเป็นต้องเร่งพิจารณาพอร์ตการลงทุนอย่างละเอียด เพื่อปรับสัดส่วนการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสการเติบโต และจำหน่ายเงินลงทุนหรือสินทรัพย์ที่ไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจออกไป รายงานนี้เป็นการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กรที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนการทบทวนพอร์ตการลงทุน โดยได้สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง 250 คน จากบริษัทเอกชนและบริษัทมหาชน ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีรายได้เกินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนภายนอก 5 ประการสำคัญ ที่ผลักดันให้เกิดความจำเป็นในการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน ได้แก่ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบต่อการยุติติดต่อหรือทำธุรกรรมกับตลาด…

ดีลอยท์ จับมือ SME D BANK และ LiVEx เปิดโครงการเสริมความพร้อมที่สำคัญของผู้ประกอบการในการเข้าตลาด “Acceleration Program – Road to LiVE” รุ่นที่ 2

ดีลอยท์ ประเทศไทย ร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME D Bank) และตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) โดย นายวัลลภ วิไลวรวิทย์ และนางสาวลสิตา มากัต พาร์ทเนอร์ บริการด้านการสอบบัญชี ดีลอยท์ ประเทศไทย (ที่สี่และห้าจากซ้าย)  นางสาวกัลยา เฉลิมโชคชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้รับผิดชอบสายงานบริหารเงินและบัญชี ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ที่หกจากซ้าย) และ นายประพันธ์ เจริญประวัติ  ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ…

ดีลอยท์เผยผลสำรวจ เจนซี และ มิลเลนเนียล ประเทศไทย ประจำปี 2567 เจนซีและมิลเลนเนียลไทยเครียดน้อยลง แต่กังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ Deloitte Global 2024 Gen Z and Millennial Survey – Thailand Perspective ซึ่งเป็นผลการศึกษาสะท้อนมุมมองของเจนซี และมิลเลนเนียลชาวไทย ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ผลสำรวจ Global 2024 Gen Z and Millennial Survey จัดทำขึ้นโดยดีลอยท์ ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่…

ดีลอยท์เผยผลสำรวจผู้บริโภคต่ออนาคตยานยนต์ ประจำปี 2567 พบคนไทยคิดไม่เหมือนเดิม ส่งผลการแข่งขันเข้มข้นขึ้น

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจ 2024 Global Automotive Consumer Study โดยได้ทำการสำรวจผู้บริโภคจำนวนกว่า 27,000 คนจาก 26 ประเทศทั่วโลก ในช่วงเดือน กันยายน ถึง ตุลาคม 2566 เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคยานยนต์ ครอบคลุมผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 5,939 คน ซึ่งรวมถึงผู้บริโภคคนไทยประมาณ 1,000 คน โดยได้ทำการวิเคราะห์ร่วมกับผลการสำรวจข้อมูล Thailand Automotive…

ดีลอยท์จับมือ SME D BANK  เดินหน้าโครงการปั้น SMEs- Startups ก้าวสู่ตลาดทุน สร้างโอกาสทางธุรกิจ ปีที่ 2 

ดีลอยท์ ประเทศไทย ผนึก SME D BANK ภายใต้การสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ไลฟ์ ฟินคอร์ป  เดินหน้าจัดโครงการ Acceleration Program – Road to LiVE 2024 รุ่นที่ 2 ด้วยหลักสูตรติดอาวุธ SMEs- Startups ก้าวสู่ตลาดทุน เพิ่มศักยภาพธุรกิจ เสริมความรู้ในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาระบบงานที่สำคัญ การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหลากสาขา สนับสนุนการต่อยอดเครือข่ายธุรกิจ จำลองการนำเสนอและรับฟังความเห็นจากนักลงทุนตัวจริง รวมถึงโอกาสรับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนสูงสุด…

ดีลอยท์ โกลบอล เผยรายงาน Women in the Boardroom พบความเท่าเทียมทางเพศในระดับผู้นำมีความคืบหน้า แต่ยังต้องเร่งดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย

ดีลอยท์ โกลบอล เปิดเผยรายงาน Women in the Boardroom: A Global Perspective ฉบับที่ 8 รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่ามีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565 แม้จำนวนผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการ ทั้งในระดับโลก และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความเท่าเทียมทางเพศในตำแหน่งคณะกรรมการอาจไม่เกิดขึ้นก่อนปี 2581 นอกจากนี้หนทางไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศในตำแหน่งประธานกรรมการหรือซีอีโอก็ยังไม่มีความชัดเจนนัก เพื่อสร้างให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆจำเป็นต้องให้ความสนใจและร่วมกันดำเนินการเพื่อทำให้ภาพคณะกรรมการบริหารขององค์กรสะท้อนภาพเดียวกันกับสังคมที่องค์กรดำเนินธุรกิจอยู่ และคณะกรรมการบริหารเองต้องมีความต่อเนื่องในการดำเนินการและในการตั้งคำถามที่ตรงประเด็น รายงานฉบับล่าสุดได้ทำการศึกษาวิเคราะห์บริษัทมากกว่า…