Tag: มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ

มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เชิญชวนนักเรียนจากประเทศไทย สมัครเรียนสำหรับภาคการศึกษาเดือนมกราคม 2568

มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ในประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาแพทย์จากประเทศไทยสำหรับภาคการศึกษาเดือนมกราคม 2568 นี้ ด้วยระบบการรับสมัครที่ยืดหยุ่น มหาลัยมีให้เลือกเริ่มเรียนสามช่วงในแต่ละปี—มกราคม เมษายน และสิงหาคม— แคมปัส True Blue อันโดดเด่นของ SGU เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ออกแบบเส้นทางการศึกษาในด้านการแพทย์ ตอบโจทย์ทั้งความฝันการเป็นแพทย์และความต้องการส่วนตัว โดยมีตารางเรียนที่ยืดหยุ่นเพื่อสอดคล้องกับชีวิตส่วนตัวของนักศึกษาอีกด้วย การสมัครเข้าศึกษาที่ SGU ในภาคการศึกษาเดือนมกราคม 2568 เป็นโอกาสที่ดีเลิศสำหรับผู้ที่มีความฝันอยากเป็นแพทย์และพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ: เริ่มต้นเส้นทางการแพทย์ของคุณด้วยการขึ้นคลินิกก่อนใคร: ภาคการศึกษาในเดือนมกราคมช่วยให้นักศึกษาเริ่มโปรแกรมการศึกษาได้เร็วกว่าปกติ ซึ่งทำให้สามารถเริ่มการขึ้นคลินิกและเป็นแพทย์ประจำบ้าน ได้เร็วขึ้น สิ่งนี้ทำให้นักศึกษาได้ประสบการณ์ตรง เสริมความมั่นใจ…

มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ความสำคัญแก่ความหลากหลาย และการไม่แบ่งแยกของนักศึกษาแพทย์ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีสำหรับประเทศไทย

ในขณะที่ประเทศไทยยังคงพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก (DEI: Diversity, Equity, and Inclusion) ในการศึกษาทางการแพทย์จึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส นับว่าอยู่ในระดับแนวหน้าในการส่งเสริม DEI ภายในโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการดูแลสุขภาพมีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชากรที่หลากหลาย รวมถึงประชากรในประเทศไทยด้วย การขาดความหลากหลายในหมู่แพทย์จะจำกัดประสิทธิผลของการดูแลรักษาทางการแพทย์ เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถหาแพทย์ที่เข้าใจภูมิหลังทางวัฒนธรรม ความเชื่อ หรือวิถีชีวิตของตนได้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการสื่อสารที่ผิดพลาดและการรักษาที่ไม่สมบูรณ์แบบ ดร. จี. ริชาร์ด โอลด์ส, ประธานกิตติคุณ…

ดร. สิรดนัย คนิษฐเสวี บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ แชร์ประสบการณ์การศึกษาที่ SGU และการนำมาปรับใช้ในชุมชนประเทศไทย

ดร. สิรดนัย คนิษฐเสวี แพทยศาสตรบัณฑิตปี 2567 แบ่งปันประสบการณ์จากการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) เพื่อทำตามฝันในการดูแลผู้คนในชุมชนประเทศไทย เรื่องราวนี้เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่สะท้อนถึงความชื่นชอบในการแพทย์ผ่านการศึกษาและการฝึกอบรมที่ SGU ดร. สิรดนัย เติบโตที่ประเทศไทย โดยมีคุณพ่อเป็นแบบอย่าง ซึ่งคุณพ่อเปิดคลินิกในท้องถิ่นด้วยการยึดมั่นในอุดมการณ์ที่อุทิศตนให้งานและมีความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย ความมุ่งมั่นของคุณพ่อเป็นแรงบันดาลใจให้ ดร. สิรดนัย ตั้งใจกับอาชีพแพทย์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายในชีวิตของผู้คน ดร. สิรดนัย กล่าวว่า “สิ่งที่ผมได้รับจาก SGU ไม่ใช่แค่การศึกษา แต่ยังได้มุมมองระดับโลกที่หล่อหลอมวิสัยทัศน์ด้านการดูแลสุขภาพของผม มหาวิทยาลัยให้บทเรียนทางการแพทย์อย่างครอบคลุมและประสบการณ์ที่หลากหลาย ช่วยเตรียมพร้อมศักยภาพของผม เพื่อรับมือกับกระบวนการดูแลสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” ในระหว่างศึกษาอยู่ที่…

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เผยความสำคัญของภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาแพทย์จากประเทศไทย

มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ (SOM) ในเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส เน้นย้ำถึงความสำคัญของความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาแพทย์จากประเทศไทยที่มีเป้าหมายที่จะศึกษาและปฏิบัติงานด้านการแพทย์ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษต้องเผชิญ โดยเฉพาะการผ่านการทดสอบต่างๆ เช่น English Language Testing System (IELTS) หรือ การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยม เพื่อการศึกษาทางการแพทย์ระดับสากล IELTS คือข้อสอบมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกสำหรับการประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษ โดยครอบคลุมทักษะการฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด และได้รับการยอมรับจากทางมหาวิทยาลัยและองค์กรด้านสุขภาพในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับการรับเข้าเรียนที่ SGU SOM นั้น นักศึกษาจะต้องมีคะแนนรวม IELTS…

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ส่งเสริมให้นักเรียนไทย สามารถเป็นแพทย์ในสหรัฐอเมริกา

ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตแพทย์จำนวนมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ภูมิใจที่จะเสนอโอกาสสำหรับแพทย์ไทยที่มีความมุ่งมั่น โดยมีเป้าหมายการเป็นแพทย์ในสหรัฐอเมริกา การเลือกโรงเรียนแพทย์ให้เหมาะสมควรเริ่มจากการรู้เป้าหมายในอาชีพของตนเอง แพทย์ที่มีความมุ่งมั่นมักตั้งเป้าชัดเจนว่าหลังจบแพทย์ไป จะสามารถประกอบวิชาชีพเวชกรรมในทิศทางไหน โดยผู้ที่ต้องการเรียนในสหรัฐอเมริกา ควรตระหนักถึงเกณฑ์ที่ใช้ รวมถึงการเป็นแพทย์ประจำบ้าน การขึ้นคลินิกของนักศึกษาแพทย์ (clinical rotation) และการรับรองมาตรฐานด้านการแพทย์ การสำเร็จจากการเป็นแพทย์ประจำบ้านของสหรัฐฯ เป็นสิ่งสำคัญมากในการประกอบอาชีพทางเวชกรรมในประเทศนี้ ซึ่ง SGU มีตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านมากกว่าสถาบันอื่น ๆ ในโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 10 แล้ว2 โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทาง SGU…

มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เป็นเจ้าภาพจัดอบรมตัวแทนด้านการศึกษา (เอเย่นต์) จากหลากหลายประเทศ เพื่อเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมการเรียน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ได้จัดงาน Education Agents Retreat Day หรือ การอบรมตัวแทนด้านการศึกษา (เอเย่นต์) ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 11 – 14 มิถุนายน งานนี้ มีเอเย่นต์หลักเข้าร่วมกว่า 25 ราย จากประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน โดยมีการจัดเวิร์กชอปหลากหลายรูปแบบ ณ โรงแรมดุสิตธานี…

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในแคริบเบียน เปิดรับสมัครนักศึกษาแพทย์ไทย สำหรับภาคการศึกษาเดือนสิงหาคมนี้

SGU เป็นแหล่งรวมแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา (อ้างอิงจาก FSMB Physician Licensure ปี 2564) ที่มีเป้าหมายในการสร้างหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์  โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยังคงต้องต่อสู้กับปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขัดแย้งกับอัตราส่วนแนะนำขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ที่ว่าอัตราส่วนแพทย์ 1 คนต่อทุก ๆ ประชากร 1,000 คน โดยประเทศไทยมีอัตราส่วนแพทย์อยู่ที่ระหว่าง 0.5 ถึง 0.8 คน ต่อประชากร 1,000 คน จากรายงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand…

เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย

เนื่องในวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันธาลัสซีเมียโลก (World Thalassemia Day) ทางมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (St. George’s University – SGU) ในเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส จึงอยากให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่แพร่หลาย เนื่องจากธาลัสซีเมียเป็นหนึ่งในโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยมากในประเทศไทย คนที่เป็นธาลัสซีเมียจะมีระดับฮีโมโกลบินในเลือดลดลงเนื่องจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ก่อให้เกิดความกังวลสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว โดยคนไทยกว่า 30% นับจากทั้งประเทศเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งควรรีบให้ความรู้แก่สังคมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคนี้ ธาลัสซีเมียเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง แม้ว่าบางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ (ธาลัสซีเมียแฝงหรือธาลัสซีเมียไมเนอร์ (Thalassemia Minor))…