สสส. ภาคีฯ  ชวนคนไทยออกกำลังกาย ได้สะดวกและสามารถเข้าถึงได้ง่ายภายในพื้นที่สุขภาวะ เช่น พื้นที่อาคารต่างๆ สวนสาธารณะ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) พร้อมเปิดพื้นที่อุทยานเบญจสิริ โชว์เคสความสําเร็จด้วยจัดกิจกรรม “พัก กะ Park” ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนสร้างสุข เพื่อเมืองสุขภาวะ ในวันที่ 24 และ 31 มี.ค. ชวนปั่นจักรยาน เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนเมืองสามารถเข้าถึงการออกกำลังกายได้ง่าย

      นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ สนับสนุนนโยบาย การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะอย่างเต็มที่ เพื่อแก้ไขปัญหาเมืองและสุขภาวะคนตามนโยบายของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ อย่าง ยั่งยืน ในการผลักดันพัฒนาพื้นที่รกร้างไม่ปลอดภัย เป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวในรูปแบบ สวน 15 นาที เพื่อให้คนเมืองกรุงสามารถเข้าถึงการออกกำลังกายได้ง่าย สะดวก และร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สํานักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย และ welpark จัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการงานกรุงเทพมหานคร (สวน 15 นาที) เพื่อสานต่อการพัฒนา ศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานสําหรับการขับเคลื่อนนโยบายสวน 15 นาทีทั่วกรุงเทพฯ และสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวเพื่อ ส่งเสริมสุขภาวะทางกายและทางใจสําหรับทุกคนอย่างเท่าเทียม ซึ่งผ่านการอบรมแล้ว 2 รุ่น จํานวน 50 คน

     น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อํานวยการสํานักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. และภาคีเครือข่าย ร่วมผลักดัน พื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นที่ว่าง เส้นทางสัญจร พื้นที่สวนสาธารณะหรือสวนส่วนกลางชุมชนทุกขนาด แม้ กระทั่งพื้นที่ในสถานที่ของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เอื้อให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างกระฉับกระเฉงด้วยความปลอดภัย  และมีปัจจัยด้านสุขภาพที่ดีอื่นๆ ประกอบตามบริบทพื้นที่ ตามพันธกิจของสสส. คือ จุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริม พลังบุคคลและองค์กรทุกภาคส่วนให้มีขีดความสามารถ และสร้างสรรค์ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ เพื่อการสร้าง เสริมสุขภาพ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ซึ่งจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีกว่าการปล่อยให้เกิดโรคแล้วจึงรักษา เพราะเป็นการสิ้นเปลือง ทั้งค่าใช้จ่ายและบุคลากรจํานวนมาก นอกจากนั้นยังสูญเสียปีสุขภาวะที่ดีในช่วงบั้นปลายชีวิตของคนอีกด้วย

       “การพัฒนาให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี ที่สามารถให้ผู้คนสามารถมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในวิถีชีวิต ได้อย่างเท่าเทียม เป็นหนึ่งในปัจจัยกําหนดสุขภาพที่จะส่งผลให้ผู้คนมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีห่างไกลโรค คนเมืองกรุงจะสามารถเข้าถึงการออกกำลังกายได้อย่างง่ายดาย สะดวก ภายในพื้นที่สวนสาธารณะ สวนส่วนกลาง หรือพื้นที่ว่างบนอาคารต่างๆ”

      นายยศพล บุญสม หัวหน้าโครงการ welpark และผู้ประสานงานเครือพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ กล่าวว่า ผลลัพธ์จากการดําเนินงานด้านพื้นที่สุขภาวะภายใต้การสนับสนุนของสสส. ทําให้พบ 9 ข้อค้นพบซึ่งจะนําไปสู่แนวทาง ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม และขยายไปทั่วประเทศอย่างยั่งยืน ได้แก่ ข้อ 1 การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสุขภาวะคนและและสุขภาวะเมือง พบ แนวโน้มที่สามารถพัฒนาได้ 6 แบบ คือ 1.การออกแบบที่สอดรับกับผู้ใช้งานทั้งสังคมผู้สูงอายุ, สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบพลเมือง และเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็กและเยาวชน 2.การ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน 3.การลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน 4.การสร้างพื้นที่สุขภาวะ เช่น สวน 15 นาที 5.สร้างกิจกรรมทางกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ลดภาวะความเครียดและอาการ วิตกกังวล และ 6.ความมั่นคงทางด้านอาหาร

    ข้อ 2. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว สู่การสร้างเสริมสุขภาวะคนและสุ ขภาวะเมือง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ 6 ประเภท คือ พื้นที่ส่งเสริมสุขภาวะแก่คนในชุมชน, พื้นที่เชื่อมต่อเมืองเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน, พื้นที่วิถีชีวิตและธรรมชาติชุมชนริมน้ํา, พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์จากส่วนร่วมของชุมชน พื้นที่แปลงเกษตรสําหรับคนเมือง และพื้นที่ความหลากหลายทางชีวะภาพของธรรมชาติในเมือง

   ข้อ 3. การพัฒนาพื้นที่สาธารณะสู่โครงข่ายพื้นที่สาธารณะสีเขียว  ข้อ 4. นโยบายการกระตุ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เอกชนสู่พื้นที่สาธารณะสีเขียวใกล้บ้าน ด้วยรูปแบบความร่วมมือ 5 ประเภท ข้อ 5.กระบวนการและเครื่องมือการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวผ่านมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องใน

ทุกขั้นตอน ข้อ 6. ฐานข้อมูลเพื่อการประเมินความเร่งด่วนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวใกล้บ้าน ข้อ 7. หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กอย่างยั่งยืน โดยการนําการถอดบนเรียน การทํางานนํามาออกแบบเป็น 5 หลักสูตร ข้อ 8. ต้นแบบความร่วมมือกับ 5 ภาคส่วนและกลไกการเชื่อมประสานความร่วมมือภาครัฐ  และ ข้อ 9. การขยายผลสู่พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วประเทศ

 นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรม “พัก กะ Park” พาร์คสร้างสุข เพื่อเมืองสุขภาวะ ในวันที่ 24 มี.ค.และ 31 มี.ค. 2567 เวลา 13.00 – 20.00 น. ที่ อุทยานเบญจสิริ ในงานมีกิจกรรมที่ หลากหลาย  เช่น กิจกรรมเสวนาต่างๆ กิจกรรมทางกาย กิจกรรมปั่นไปพัก ปั่นไป Park, เล่น สร้างสวน, พักใจที่ Park ผัก และดนตรีในสวน เป็นต้น โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถติดตามดูข้อมูลได้ที่ เพจ : we park, City Cracker  และ Healthy Space Alliance

https://www.kaosanonline.com/?p=57248

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You missed